คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ
ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง
ฝึกปฏิบัติการ
สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้
วัตถุประสงค์ในรายวิชา
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมการเรียนการสอน
การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ
ICT
การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
การสรุปเป็นรายงาน
การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
การบรูณาการกับความพอเพียง
ในคำว่าพอเพียงนั้น
ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์หรือทอผ้าใส่เอง
แต่ความพอเพียงนั้นหมายถึงการที่เราทำงานสุจริต สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่ควรมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย
เราสามารถเริ่มพอเพียงได้ที่ตัวเรา
สิ่งแรกคือ เราควรรู้จักประมาณตน ใช้จ่ายให้เหมาะสมกับระดับฐานะความเป็นอยู่ของตน เช่น หากเรามีฐานะปานกลาง
ไม่ร่ำรวยมาก เราก็ไม่ควรใช้สิ่งของแพงๆหรืออยากได้อยากมีเหมือนคนอื่นๆ ทั้ง
กระเป๋า เสื้อผ้า รถยนต์ หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือที่กำลังเป็นที่นิยม
รวมไปถึงสิ่งของอื่นๆอีกมากมาย เพราะหากเราใช้จ่ายไม่เหมาะสมกับฐานะของตน
ก็จะทำให้เราเป็นทุกข์เพราะต้องไปกู้เงินมาซื้อสิ่งของแพงๆเหล่านั้น ในขณะเดียวกัน
ทุกๆครั้งที่เราใช้จ่ายเราก็ควรคำนึงถึงประโยชน์และความจำเป็นที่แท้จริงของการใช้จ่ายนั้นด้วย
เช่น เราซื้อโทรศัพท์มือถือมาเพราะมีเหตุผลจำเป็นที่ต้องใช้โทรศัพท์
ไม่ได้ซื้อมาเพราะเพียงแค่ต้องการมีเหมือนคนอื่น
อีกประการหนึ่งคือ การใช้สิ่งของทุกอย่าง อย่างประหยัด
คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น
การรับประทานอาหารให้หมดจาน
การรักษาสิ่งของเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพดีเพื่ออายุการใช้งานที่นานขึ้น เป็นต้น
ต่อมาคือ เราควรประหยัดอดออม เก็บออมเงินวันละเล็กละน้อย เผื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น และ
สุดท้ายที่เราสามารถทำได้ง่ายๆคือ การทำบัญชีรายรับ
รายจ่าย เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการใช้จ่ายของเรา
ทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่เหมาะสมได้อีกด้วย
ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ
ผู้คนให้ความสำคัญกับเงินทองและสิ่งของนอกกาย
จนต้องพยายามดิ้นรนทำทุกวิถีทางเพื่อสิ่งนั้นๆ ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่สำคัญ
ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ดีมาก
โดยความพอเพียงนั้นควรเกิดจากภายในจิตใจของเรา เพียงเราดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล
มีความพอเหมาะพอดีกับศักยภาพของตน ไม่โลภ ไม่อยากมีอยากได้เหมือนคนอื่น
เราก็จะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ได้อย่างมีความสุข
การบรูณาการกับความซื่อสัตย์
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น