ขอต้อนรับสู่บล็อกนางสาวอโณทัย ทองมาก คบ.4 คณิตศาสตร์ ด้วยความยินดี

สวัสดีคะผู้เยี่ยมชมทุกท่าน...บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1/2556 ....เพื่อให้มีความเข้าใจในเนื้อหารายวิชานี้มากยิ่งขึ้นและยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่สนใจในเนื้อหาได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา
       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค  ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้
วัตถุประสงค์ในรายวิชา
       เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
              1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
              2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
              3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
              4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
              5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
              6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
              7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
              8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
              9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
            10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
            11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
            12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
            13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
            14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
            15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

เนื้อหาบทเรียน

       หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
       หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
       หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
       หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
       หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
       หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน


 กิจกรรมการเรียนการสอน
          การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
          การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
          การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
          การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
          การสรุปเป็นรายงาน
          การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล

การบรูณาการกับความพอเพียง
             
                 ในคำว่าพอเพียงนั้น ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์หรือทอผ้าใส่เอง แต่ความพอเพียงนั้นหมายถึงการที่เราทำงานสุจริต สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่ควรมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย เราสามารถเริ่มพอเพียงได้ที่ตัวเรา 
            สิ่งแรกคือ เราควรรู้จักประมาณตน ใช้จ่ายให้เหมาะสมกับระดับฐานะความเป็นอยู่ของตน เช่น หากเรามีฐานะปานกลาง ไม่ร่ำรวยมาก เราก็ไม่ควรใช้สิ่งของแพงๆหรืออยากได้อยากมีเหมือนคนอื่นๆ ทั้ง กระเป๋า เสื้อผ้า รถยนต์ หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือที่กำลังเป็นที่นิยม รวมไปถึงสิ่งของอื่นๆอีกมากมาย เพราะหากเราใช้จ่ายไม่เหมาะสมกับฐานะของตน ก็จะทำให้เราเป็นทุกข์เพราะต้องไปกู้เงินมาซื้อสิ่งของแพงๆเหล่านั้น ในขณะเดียวกัน ทุกๆครั้งที่เราใช้จ่ายเราก็ควรคำนึงถึงประโยชน์และความจำเป็นที่แท้จริงของการใช้จ่ายนั้นด้วย เช่น เราซื้อโทรศัพท์มือถือมาเพราะมีเหตุผลจำเป็นที่ต้องใช้โทรศัพท์ ไม่ได้ซื้อมาเพราะเพียงแค่ต้องการมีเหมือนคนอื่น 
            อีกประการหนึ่งคือ การใช้สิ่งของทุกอย่าง อย่างประหยัด คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การรับประทานอาหารให้หมดจาน การรักษาสิ่งของเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพดีเพื่ออายุการใช้งานที่นานขึ้น เป็นต้น 
            ต่อมาคือ เราควรประหยัดอดออม เก็บออมเงินวันละเล็กละน้อย เผื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น และ 
            สุดท้ายที่เราสามารถทำได้ง่ายๆคือ การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการใช้จ่ายของเรา ทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่เหมาะสมได้อีกด้วย
            ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนให้ความสำคัญกับเงินทองและสิ่งของนอกกาย จนต้องพยายามดิ้นรนทำทุกวิถีทางเพื่อสิ่งนั้นๆ ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่สำคัญ ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ดีมาก โดยความพอเพียงนั้นควรเกิดจากภายในจิตใจของเรา เพียงเราดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล มีความพอเหมาะพอดีกับศักยภาพของตน ไม่โลภ ไม่อยากมีอยากได้เหมือนคนอื่น เราก็จะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ได้อย่างมีความสุข

การบรูณาการกับความซื่อสัตย์                 
                   ในสังคมวันนี้ ความซื่อสัตย์ได้กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อคนส่วนใหญ่ละเลย ด้วยจิตสำนึกผิดชอบที่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย แต่ในความจริงแล้วความซื่อสัตย์เป็นเรื่องท้าทายใจอยู่ทุกขณะจิต เราต้องตัดสินใจที่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าเราจะยังเดินอยู่ในกรอบแห่งความถูกต้องหรือไม่ ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องที่ต้องวัดได้ในขณะที่ยังไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมาคอยบังคับอีกด้วย
                    ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง   :   ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด

                    การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ
                   การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น   :   ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม

                  หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง
                  สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง

                     ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ   :   เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล
                     ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย   :   ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หากเราไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่เราก็จะไม่ซื่อสัตย์ด้วย ไม่ว่าจะกระทำการใดเราควรได้กระทำด้วยความรับผิดชอบตามกฎระเบียบ หากทำผิดก็ต้องรับผิด อย่าพลิกแพลงหรือแก้ตัว การแก้ตัวนั้นถือได้ว่า เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง   ถึงแม้อาจจะฟังดีมีเหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและกลับยิ่งเป็นการลดคุณค่าตัวเองมากยิ่งขึ้น หากเราทำดีมาร้อยครั้งแต่เมื่อเราทำผิดและแก้ตัว บุคคลอื่นก็จะเริ่มสงสัยไม่ไว้วางใจเรา เริ่มไม่อยากมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเรา ดังนั้น เราจึงควรยอมรับความจริงได้แม้เราผิดพลาดไป และดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความซื่อสัตย์ที่เราพากเพียรทำไว้นั้นจะสามารถปกป้องเราไว้ได้อย่างแน่นอน

                     ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้   : ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่มได้ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา
 ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง